การประชุมวิชาการ “Asthma and COPD for healthcare wokers”
Principle of management
เราสามารถประเมิน Asthma control ได้จาก
- ประเมิน Current control (within past 1-4 weeks)
1. ประเมินอาการตอนกลางวัน
2. ประเมินอาการตอนกลางคืน
3. ความต้องการใช้ยาพ่นฉุกเฉิน
4.สมรรถภาพปอด (ค่า FEV1, PEF)
- ประเมิน Future risks (Long tern)
1. การเกิด Exacerbation
2. สูญเสียการทำงานของปอด
3. เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
-ความแตกต่างระหว่างการประเมินความรุนแรงของโรคกับการควบคุมได้ของโรค
การประเมิน Severity คือ การประเมิน ระดับความรุนรงของโรคหอบหืด ประเมินจากลักษณะอาการ ปริมาณยาที่ใช้ ระดับความล้มเหลวของค่าการทำงานของระบบหายใจ ระดับการอักเสบที่แสดงขณะที่ยังไม่มีการรักษา
การประเมิน Control คือ การประเมินความถี่ของอาการที่เกิดขึ้น ความถี่ของความต้องการใช้ยาในการรักษาอาการกำเริบ ระดับการอักเสบที่แสดงขณะที่ทำการรักษา
เมื่อหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
- Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
- Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
- Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคหืดจึงมีอาการดังต่อไปนี้
หายใจตื้น หรือหายใจสั้น หายใจเสียงดัง เหนื่อย ไอมีเสมหะ หรือ ไม่มีก็ได้
ผู้ป่วยหืด สามารถประเมินความรุนแรงของโรค โดยการดูลักษณะอาการทางคลินิก และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า PEAK FLOWMETER (รายละเอียดตามตารางด้านล่าง)
ระดับ |
อาการ |
อาการ |
ตรวจ |
ระดับ 4 |
- มีอาการหอบทุกวัน |
- เป็นบ่อย |
FEV, หรือ PEF |
ระดับ 3 |
- มีอาการหอบทุกวัน |
- มากกว่า 1 ครั้ง/ |
FEV, หรือ PEF น้อยกว่า |
ระดับ 2 |
- อาการหอบ มากกว่า 2 |
- มากกว่า 2 ครั้ง/ |
FEV, หรือ PEF มากกว่า |
ระดับ 1 |
- อาการหอบน้อยกว่า 1 |
- น้อยกว่า 2 ครั้ง/ |
FEV, หรือ PEF มากกว่า |
เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยหอบหืดควรจะบันทึกความผิดปกติของอาการ รายละเอียดการใช้ยา และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย (Peak Flow) ด้วยตนเองโดยอาจจะใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรในการเรียนรู้ที่จะใช้ยารักษาโรคหอบหืด เช่น
ก. ไฟเขียว หมายถึง ให้เลือกใช้ยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม (Steroid พ่น)
ข. ไฟเหลือง หมายถึง ใช้ยาขยายหลอดลม ควบคู่กับยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม
ค. ไฟแดง หมายถึง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหอบหืด
การรักษา
1. ไฟเขียว คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 80 - 100% ของปกติ
หายใจดี ไม่ไอ ไม่หายใจดัง , Wheeze , ไม่แน่นอกเวลาทำงานหรือออกคำสั่ง
แนวทางการรักษา
1.1 ใช้ยาขยายหลอดลมเป็นครั้งคราวเวลามีอาการ
1.2 ใช้ยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลมสม่ำเสมอ
2. ไฟเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 50 - 80% ของปกติ
ผู้ป่วยจะไอ, หายใจดัง , แน่นอกต้องใช้ยาพ่นขยายหลอดลม บ่อยขึ้นตื่นเช้าหอบบ่อยขึ้น ตื่นมากลางดึกหอบบ่อยขึ้น
แนวทางการรักษา
2.1 พ่นยาขยายหลอดลม เพิ่มและถี่ขึ้น เช่น ทุกๆ 3 - 4 ชม.
2.2 พ่นยาระงับอักเสบหลอดลมเพิ่มขึ้น
2.3 พิจารณาการใช้ STEROID โดยปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
3. ไฟแดง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF น้อยกว่า 50% ของปกติ
แนวทางการรักษา
3.1 พ่นยาขยายหลอดลมเพิ่มและถี่ขึ้น เช่น ทุกๆ 2 - 3 ชม.
3.2 กินยา STEROID 30 -45 มิลลิกรัม/วัน
3.3 รีบเข้ารับคำปรึกษาการรักษาจากแพทย์
- โรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ โดยมีลักษณะของการอุดกั้นในหลอดลมทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง โดยจะมีการดำเนินโรคแย่ลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังมีเสมหะและอาการเหนื่อยซึ่งอาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้น และในที่สุดจะมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำและหัวใจวายตามมา ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนซึ่งได้แก่ ปอดบวม ภาวะหายใจวายและภาวะหัวใจวาย
การรักษาโรคถุงลมโป่งพองจะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม
โดยอาศัยอาการและการตรวจสมรรถภาพของปอด การตรวจสมรรถภาพของปอดจะประกอบด้วยการวัดปริมาตรของลมหายใจที่หายใจออกอย่างเต็มที่และรวดเร็วในเวลา 1 วินาที ที่เรียกว่า FEV1 (Force expiratory volume in one second) การวัดปริมาตรลมหายใจออกอย่างเต็มที่และรวดเร็วจนสุดการหายใจออก ที่เรียกว่า FVC (Force vital capacity) และดูอัตราส่วนของ FEV1 และ FVC โดยผู้ป่วยทุกกลุ่มจะมีอัตราส่วนของ FEV1 และ FVC น้อยกว่า 0.70 การแบ่งผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองตามระดับความรุนแรงของโรค ได้แก่
ระดับที่ 1 ระดับเล็กน้อย (mild) ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรัง ตรวจสมรรถภาพของปอด FEV1 มากกว่าร้อยละ 80 ของค่ามาตรฐาน
ระดับที่ 2 ระดับปานกลาง (moderate) ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยเวลาออกแรง ไอมีเสมหะเรื้อรัง ตรวจสมรรถภาพของปอด FEV1 อยู่ในช่วงร้อยละ 50-80 ของค่ามาตรฐาน
ระดับที่ 3 ระดับรุนแรง (severe) ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้นจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน ลดความสามารถในการออกกำลัง มีอาการเหนื่อยเพลีย และมีอาการกำเริบของโรคบ่อย ตรวจสมรรถภาพของปอด FEV1 อยู่ในช่วงร้อยละ 30-50 ของค่ามาตรฐาน
ระดับที่ 4 ระดับรุนแรงมาก (very severe) ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยตลอดเวลา มีอาการกำเริบของโรครุนแรงและบ่อย ตรวจสมรรถภาพของปอด FEV1 น้อยกว่าร้อยละ 30 ของค่ามาตรฐาน
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD สิ่งที่จะปรากฏคู่กันเสมอ คือ “การสูบบุหรี่” เนื่องจาก ประมาณ 90% ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ และการรักษาที่ได้ประโยชน์มากที่สุดสำหรับโรคนี้ก็คือ การเลิกสูบบุหรี่
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคถุงลมปอดโป่งพอง
โดยทั่วไป อาหารมักประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งเมื่อร่างกายเผาผลาญสารอาหารเหล่านี้ก็จะเกิดแกสคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งร่างกายจะขับแก๊สนี้ออกจากร่างกายโดยการหายใจออก ถ้ามีปริมาณแก๊สนี้ในร่างกายมากเกินไปจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนงง และหมดสติได้ ผู้ป่วยโรคถุงลมปอดโป่งพองมักต้องใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจค่อนข้างมากกว่าปกติถึง 10เท่า ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์และให้พลังงานเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ร่างกายยังนำสารอาหารไปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต้านเชื้อโรคจึงทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่ค่อยมีอาการเจ็บไข้บ่อยอีกด้วย
ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน มักจะทำให้หัวใจและปอดต้องออกแรงทำงานหนักมากขึ้นเพื่อสนองตอบต่อความต้องการออกซิเจนของร่างกายที่มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามถ้ามีรูปร่างผอมเกินไปก็จะรู้สึกหอบเหนื่อยง่ายและง่ายต่อการติดเชื้อโรคต่างๆเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยควรควบคุมให้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม จึงควรชั่งน้ำหนักตัวสัปดาห์ละ1-2 ผู้ป่วยโรคถุงลมปอดโป่งพองควรดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 6-8ออนซ์เพื่อไม่ให้เสมหะเหนียวมากและไอเอาเสมหะออกง่าย
นอกจากนี้ก็ไม่ควรดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือชอคโกแลตเพราะจะรบกวนการดูดซึมของยากินบางชนิดได้ ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจร่วมด้วยก็ควรจำกัดการดื่มน้ำ การรับประทานอาหารที่มีกากใยมากเช่น ผัก ถั่ว ข้าว ธัญพืช พาสต้าหรือผลไม้ จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย ปกติควรรับประทานอาหารที่มีกากใยปริมาณ 20-35กรัมต่อวัน ควบคุมการกินเกลือในอาหารแต่ละมื้อเพราะเกลือจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยพยายามไม่ใส่เกลือในอาหารที่ปรุง หรือ เลือกรับประทานอาหารที่มีเกลือน้อยกว่า300มก./มื้อ ถ้าจำเป็นต้องดมออกซิเจนเพื่อการรักษาโรคตลอดเวลาอยู่ก่อนแล้ว ก็ควรดมออกซิเจนในขณะรับประทานอาหารด้วยเพราะ ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้พลังงานทั้งในขณะรับประทานและย่อยอาหารซึ่งก็จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงานด้วย ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่จะก่อแกสมากในร่างกายเช่น น้ำอัดลม อโวคาโด แตงโม ถั่ว บรอคโคลี กะหล่ำปลี ข้าวโพด แตงกวา หัวหอมใหญ่ พริกไทย ถั่วเหลือง เหล่านี้เป็นต้น เพราะจะทำให้ท้องอืดจนกระทั่งหายใจลำบากได้ ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาขับปัสสาวะอยู่ก็ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงชดเชยให้แก่ร่างกายด้วย เช่นส้ม กล้วย มันฝรั่ง แอสปารากัตและมะเขือเทศ เป็นต้น
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหอบเหนื่อยระหว่างรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารทันที ควรปฎิบัติดังนี้
1.ไอเอาเสมหะออกให้มากที่สุดก่อนเริ่มทานอาหาร 1ชั่วโมง
2. รับประทานอาหารคำเล็กๆและเคี้ยวช้าๆ พร้อมกับหายใจเข้าออกให้ลึกระหว่างนั้นด้วย
3. เลือกรับประทานอาหารที่เคี้ยวง่าย
4. พยายามรับประทาน5-6มื้อ/วัน แต่มื้อละปริมาณไม่มากเพื่อไม่ให้มีอาการท้องอืดจนกระทั่งรบกวนการหายใจ
5. ดื่มน้ำปริมาณมากหลังอาหาร เพราะถ้าดื่มน้ำก่อนหรือระหว่างรับประทานอาหารอาจทำให้ท้องอืดและทานอาหาร
ได้นัอย
6. ควรรับประทานในท่านั่ง
7. ช่วยหายใจให้ง่ายโดยการห่อปากเพื่อหายใจ
- การฝึกหายใจแบบเป่าปาก
ก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกายและระหว่างการออกกำลังกายควรฝึกหายใจวิธีเป่าปาก (การห่อปาก) ทำได้โดย
- หายใจเข้าผ่านจมูก ให้หน้าท้องโป่ง
- หายใจออกทางปาก พร้อมกับการทำปากจู๋ หรือห่อปาก เพื่อค่อยๆเป่าลมออกจากปาก
- ให้หายใจออกยาวประมาณ 2 เท่าของการหายใจเข้า เพื่อที่จะปล่อยลมออกจากปอดให้นานขึ้น โดยทั่วไป จะหายใจเข้าประมาณ 4 วินาที หายใจออกประมาณ 6-8 วินาที
- การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม
นอนหนุนหมอนหลายใบ ให้อยู่ในท่าเอน วางมือข้างหนึ่งบนท้อง อีกข้างหนึ่งบนหน้าอก หายใจเข้าให้ท้องโป่ง จะรู้สึกว่ามือที่ท้องขยับ แต่มือที่หน้าอกไม่ขยับ หลังจากนั้นหายใจออก จะรู้สึกว่ามือที่ท้องขยับ แต่มือที่หน้าอกไม่ขยับเช่นกัน
ในระหว่างออกกำลังกาย เมื่อรู้สึกเหนื่อยหอบ ให้หยุดพัก และพักในท่าที่ลำตัวเอนไปด้านหน้า ซึ่งจะช่วยการทำงานของกระบังลมให้ดีขึ้น เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อย และช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น
- นั่งตามสบาย โน้มตัวไปด้านหน้า เอาศอกยันไว้ที่ต้นขา ปล่อยศีรษะตามสบาย อยู่ในท่านี้จนกระทั่งไม่เหนื่อยหอบ
- นั่งฟุบหน้าที่โต๊ะ ให้ตัวเอนไปด้านหน้า
- ยืนพิงกำแพง โดยให้ขาห่างจากกำแพงเล็กน้อย เอนตัวมาด้านหน้า
กายออกกำลังกายที่ดี ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาในการออกกำลังวันละ 20-30 นาที และอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในกลุ่มผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง และปานกลาง ส่วนในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจออกกำลังกายช่วงสั้นๆ 3-5 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ขึ้นกับอาการของแต่ละบุคคล ไม่ควรหักโหม