การประเมินสถานการณ์และประเมินสภาพผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน


(อ.ดร.วิภาดา วิจักขณาลักษ์)

 

 

     1. การประเมินสถานการณ์ (Scene size-up) เพื่อตรวจสอบว่าสถานที่เกิดเหตุปลอดภัยสำหรับการช่วยเหลือหรือไม่

ข้อมูลที่ต้องประเมิน

1.BSI (Body Substance Isolation) การป้องกันตนเองโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หมวก แว่นตา   mask    รองเท้าบู๊ท   เอี๊ยม

2.Scene safety ความปลอดภัยของที่เกิดเหตุ เช่น จอดรถห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 15 เมตร กั้นกรวยจราจร

3.MOI :Mechanism of injury   กลไกการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ เช่น ถูกรถชน กระเด็นออกจากตัวรถ ขับ mc ล้ม ตกจากที่สูงเกิน 5 เมตร

4.Number of patients จำนวนผู้บาดเจ็บ/ป่วย หรือจำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ

5.Additional resources การขอความช่วยเหลือที่ต้องการเพิ่มเติม เช่น ตำตรวจ กู้ภัย

      2. การประเมินสภาพผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ

   Initial Assessment   การประเมินขั้นต้น

1.ประเมินสภาพทั่วไปของผู้บาดเจ็บ (General impression) เช่น เพศ อายุ อาการบาดเจ็บ

2.ประเมินระดับความรู้สึกตัว(Responsc/mental/status/Loc) โดยใช้หลัก AVPU และ c-spine ต้อง stabilization ศีรษะขณะประเมิน

3.ประเมินทางเดินหายใจ (Airway) และทำทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่า open airway suction ใส่ oro pharyngeal airway

4.ประเมินการหายใจ (Breathing) โดยตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส ภายใน 10 วินาที และช่วยหายใจ

5.ประเมินการไหลเวียน(circulation) ภายใน 10 วินาที (pulse ที่ carotid และ radial ดู skin ว่าซีด มีเหงื่อออก ตัวเย็นหรือไม่ ดู major bleeding ถ้ามีให้ stop bleed

หลังจากประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ แล้วสรุปว่าผู้บาดเจ็บมี MOI หรือไม่ ถ้ามีให้ประเมิน Rapid trauma assessment (ตรวจ head to toe) ถ้าไม่มีให้ประเมินแบบ focused asessment

      3.Rapid trauma assessment (การประเมินผู้บาดเจ็บแบบเร็ว)

1.ดูและคลำบริเวณรอบศีรษะและใบหน้าโดยตรวจหา DCAP-BTLS

2. ดูและคลำบริเวณคอทั้งด้านหน้าด้านหลัง โดยตรวจหา DCAP-BTLS และตรวจ trachea deviation, jugular vein, distension

3.ดูและคลำบริเวณทรวงอก ตรวจหา DCAP-BTLS และฟังเสียงหายใจ 4 จุดที่ 2 nd intercostals mid clavicular line ,

4-5th intercostals space mid axillary line ว่าได้ยินเสียงลมเข้าออกเท่ากันหรือไม่ ตรวจหา chest movement เปรียบเทียบข้างซ้ายและขวา ฟัง heart ตำแหน่ง apex

4.ดูและคลำบริเวณช่องท้อง โดยตรวจหา DCAP-BTLS

5.ดูและคลำบริเวณกระดูกเชิงกราน โดยตรวจหา DCAP-BTLS กดด้านล่างแล้วค่อยกดด้านบน ลง – ออก เพื่อป้องกันในกรณีที่ผู้ป่วยมี Fx. pevic จะทำให้กระดูกเชิงการแยกมากขึ้น

6.ดูและคลำรยางค์ทั้ง 4 โดยตรวจหา DCAP-BTLS พร้อม check PMS (pulse, motor, sensory) ทีละข้าง

7.พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยแบบท่อนซุงดูและคลำบริเวณหลัง หา DCAP-BTLS และพลิกตะแคงตัวลง long spinal board ใส่ head immobilizers และรัดสาย belt

8. Re-assessment R-A-B-C ขณะทำ Rapid trauma assessment เสมอ

     4.พิจารณานำผู้บาดเจ็บขึ้นรถ ประเมิน V/S และ ซักประวัติ SAMPLE (Signs and symptoms, Allergy, Medication, Past illness, Last meal, Event leading to illness ) หลังจากนั้นประเมิน Detailed Physical Assessment การประเมินแบบละเอียดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า

     5.ประเมินระดับความรู้สึกตัว GCS ติด lead EKG และตรวจพิเศษที่จำเป็น เช่น DTX หลังจากนั้น Re-assessment RABC,V/S,GCS และประสิทธิภาพการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ตามสภาพผู้บาดเจ็บ จนถึงรพ.